www.plukpanyaschool.ac.th  

ประวัติโรงเรียน


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
(รัชกาลที่ 6)

พ.ศ. ๒๔๕๒ (ร.ศ.๑๒๘)
"เมื่อ ๒๙ เมษายน ร.ศ.๑๒๘ (๒๔๕๒) สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร (รัชกาลที่ ๖) เสด็จหัวเมืองภาคใต้ และได้ทรงเสด็จเปิดโรงเรียนชั้นปฐมใหม่ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตวัดมงคลนิมิต และพระราชทานนามว่าโรงเรียนปลูกปัญญา ตามที่ปรากฏในสำเนาจดหมายเหตุ ฉบับที่ ๔/๔ ลงวันที่ ๓๐ เมษายน ร.ศ.๑๒๘ ซึ่งคัดมาจากเอกสารกองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร แฟ้มที่ ๕.๕ บ.๓๓/๓๑ "


คัดจาก สำเนาจดหมายเหตุ ฉบับที่ ๔/๔ ลงวันที่ ๓๐ เมษายน ร.ศ. ๑๒๘ ซึ่งคัดมาจากเอกสารกองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร แฟ้มที่ ที่ ๕.๕ บ.๓๓/๓๑

สมัยที่ 1
สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ( รัชกาลที่ 6) เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเปิด โรงเรียนชั่วคราว ระดับปฐมศึกษา สำหรับนักเรียนมณฑลสตรีภูเก็จ บริเวณป่าช้าเก่าในวัดมงคลนิมิตรและพระราชทาน นามว่า " โรงเรียนปลูกปัญญา " เมื่อวันที่ 29 เมษายน ร . ศ . 128 ( พ . ศ . 2452)
สมัยที่ 2
โรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญา จัดตั้งโดยกระทรวงศึกษาธิการ เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2547 วันแรกที่ทำการสอนมีผู้ปกครองนำเด็กมาสมัครเรียนเข้าเรียน จำนวน 80 คน ซึ่งมีนายชั้น วรวิทูรเป็นครูใหญ่คนแรก จากคำบอกเล่าและหลักฐานข้างต้นแสดงว่า โรงเรียนนี้ได้เปิดทำการสอน และเรียนมาตั้งแต่ ร . ศ . 128 ต่อมาภายหลังไม่ทราบว่าเพราะเหตุใด โรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญาจึงได้ย้ายไปในที่ดินของโรงเรียนสตรี ( ที่ตั้งโรงเรียนปัจจุบัน ) จนกระทั่ง ปี พ . ศ . 2500 โรงเรียนสตรีได้ตกลงแลกเปลี่ยนกับ เทศบาลโรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญา
สมัยที่ 3
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ โรงเรียนปลูกปัญญาถูกต้นไม้ล้มทับจึงได้ย้ายมาอยู่โรงเรียนสตรี ตั้งอยู่ถนนสตูล (สถานที่ตั้งโรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญาปัจจุบัน) และโรงเรียนสตรีได้ย้ายสับเปลี่ยนกับเทศบาลภูเก็ต ซึ่งตั้งอยู่ในโรงเรียนสตรีในปัจจุบัน ต่อมาโรงเรียนปลูกปัญญาได้ทำการต่อเติมอาคารเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ทั้ง 2 ข้าง อาคารโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดภูเก็ต (สร้าง ร.ศ.๑๒๗) และได้ทำการเปิดการสอน เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๗ มีนักเรียนเข้าเรียน ๖๐ คน มีนายชั้น วรวิทูร เป็นครูใหญ่คนแรก
สมัยที่ 4
เมื่อปี พ.ศ. 2511 จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นรัฐบาล ทางโรงเรียนได้สร้างอาคารหลังใหม่ เป็นอาคาร คสล. 3 ชั้น จำนวน 18 ห้องเรียน กว้าง 10 เมตร ยาว 93 เมตร ทำเป็นโครงการ 4 ระยะ เริ่ม ก่อสร้างเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2511 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 รวมเวลาก่อสร้าง 3 ปี 8 เดือน 6 วัน สิ้นเงินรวมทั้งสิ้น 2,300,000 บาท เมื่อปี พ.ศ. 2520 ทางโรงเรียนได้สร้างอาคารหลังใหม่ เป็นอาคาร คสล. 3 ชั้น กว้าง 10 เมตร ยาว 93 เมตร สร้างตามกำลังเงินที่ทางรัฐบาลได้จัดสรรให้เพียง 6 ห้องเรียน ส่วนชั้นล่างสุดปล่อยว่างเปล่า เปล่า อาคารจึงยังอยู่ในสภาพที่ยังไม่เรียบร้อยและสมบูรณ์แบบ

พ.ศ. ๒๕๕๒
ด้วยโรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญา ได้รับพระราชทานนาม “ปลูกปัญญา” จากพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในขณะดำรงพระยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อครั้งเสด็จหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ.๑๒๘ (พ.ศ.๒๔๔๒) โรงเรียนครบรอบ ๑๐๐ ปี ในวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๒ และโรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญาได้รับพระกรุณาจากสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพันณวดี ทรงพระกุรณารับโรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญา ไว้เป็นองค์กรภายใต้พระอุปถัมภ์ฯ นับตั้งแต่วันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๒ สืบไป อ้างถึงหนังสือ วร.๑๒๑/๒๕๕๒ ลงวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๒

วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เวลา 08.30 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.6) โรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญา ต.ตลาดเหนือ อ.เมือง จ.ภูเก็ต โดยโรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญา ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ครั้นสมัยทรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร ได้ทรงพระราชทานนาม “โรงเรียนปลูกปัญญา” เมื่อพระองค์เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ในรัชสมัยรัตนโกสินทร์ศก 126 (พ.ศ.2452) และต่อมา ได้ย้ายเป็นโรงเรียนในสังกัดเทศบาล ในวันที่ 1 เมษายน 2507 ในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษฎ์ ธนะรัชต์ จากปี พ.ศ.2452 ถึง พ.ศ.2552 นับเป็นเวลา 100 ปี ทางเทศบาลนครภูเก็ต สมาคมนักเรียนเก่าปลูกปัญญา คณะกรรมการศึกษาขึ้นพื้นฐาน ชมรมผู้ปกครอง และคณะผู้บริหาร คณะครู นักเรียนโรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญา ในพระอุปถัมภ์ฯ ได้มีมติร่วมกันจัดทำหนังสือเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เพื่อโปรดนำความกราบทูลสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ขอพระบรมราชานุญาตจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เครื่องทรงชุดนายกองใหญ่เสือป่า ม้าหลวงรักษาพระองค์ขนาดเท่าครึ่งพระองค์ และการดำเนินงานจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงได้ประกอบพิธีอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ แท่นประดิษฐานโรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญา ในพระอุปถัมภ์ฯ เพื่อให้นักเรียนได้ถวายบังคมต่อไป